วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


อนุรักษ์ความเป็นไทยมหกรรม
งานพืชสวนโลก





กระบวนพยุหยาตราชลมารค

กระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือขบวนเสด็จพระราชดำเนินทางนำของพระมหากษัตริย์ เป็นหนึ่งในโบราณราชประเพณีของไทยที่ยังคงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่เดิมรูปแบบการจัดกระบวนคงมีลักษณะการจัดกระบวนยาตราทัพทางน้ำ และได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงต่อมาตามลำดับ โดยในระยะต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคได้รับรูปแบบมาจากกระบวนพยุหยาตราชลมารคเพชรพวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์พินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือในขณะนั้น ทรงปรับรูปแบบกระบวนเรือพระราชพิธี เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนเรือพระราชพิธีที่มีอยู่และเหมาะสมกับวโรกาสในการเสด็จพระราชดำเนิน ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ใน พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระดำริแก้ไขรูปแบบการจัดกระบวนเรือใหม่ เป็นลักษณะดาวล้อมเดือน คือ มีริ้วกระบวนเรือพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในสายกลาง และริ้วกระบวนเรือเหล่าแสนยากรขนาบข้างด้านละ 2 สาย ซึ่งรูปแบบกระบวนเรือนี้ ก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน

งานพืชสวนโลก

การจัดงานสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ได้รับการรับรองในการจัดงาน ในระดับ A1 อย่างเป็นทางการ จาก สำนักงานมหกรรมโลก (Bureau of International Exposition - BIE) สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (Association of Horticulture Producers - AIPH) และ ภายใต้การสนับสนุนจาก สมาพันธ์ดอกไม้โลก (World Flower Council - WFC) และสมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science - ISHS) ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในการจัดงานของประเทศไทยทุกด้าน โดยเฉพาะความพร้อมในด้านขนาดพื้นที่ ระยะเวลาการจัดงาน สาระของการนำเสนอในระดับสากล และความหลากหลายของพืชพรรณไม้ที่นำมาจัดแสดงภายในงานประกอบด้วยไฮไลท์หลัก 7 ส่วน ได้แก่




หอคำหลวง (Royal Pavilion) สวนเฉลิมพระเกียรติ นิทรรศการไม้ดอก


ประมวลภาพสวยงาม





ไม้ดอกสวยงาม










































































































































มหกรรมงานพืชสวนโลก